สำนักงานเกษตรอำเภอราชสาส์น

70 หมู่ 2 ต.บางคา อ.ราชสาส์น จ.ฉะเชิงเทรา 24120

ข้อมูลดิน

นายสายันต์ กมลคร
เกษตรอำเภอราชสาส์น

นายสายันต์ กมลคร

เกษตรอำเภอราชสาส์น

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับอำเภอ

หน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ระบบการทำงาน DOAE

ระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง DOAE

  • ลักษณะดิน กลุ่มชุดดิน (แสดงแผนที่กลุ่มชุดดิน) ลักษณะชุดดินของอำเภอราชสาส์น ประกอบไปด้วย 7 ชุดดิน ดังนี้
    • Cc ชุดดินฉะเชิงเทรา
    • Dr ชุดดินดอนไร่
    • Ma ชุดดินมหาโพธิ
    • Ok ชุดดินองครักษ์
    • Rs ชุดดินรังสิต
    • AC-pd ดินตะกอนน้ำพาเชิงซ้อนที่มีการะบายน้ำเลว
    • NBC ดินตะกอนหลายชนิดปนกัน มีความเป็นกรดและถูกยกร่อง

ข้อมูลกลุ่มชุดดิน ที่มีความสำคัญและความเหมาะสมของดินรวมไปถึงคุณภาพดินในอำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา ประกอบไปด้วย
        1 .ชุดดินมหาโพธิ (Ma) 
ลักษณะโดยทั่วไป : เป็นดินลึก ดินบนเป็นดินเหนียวมีสีดำหรือสีเทาเข้มมีจุดประสีน้ำตาลแก่ ปฏิกิริยาดิน เป็นดินกรดจัดมากถึงกรดจัด (pH 4.5-5.5) ดินบนตอนล่าง เป็นดินเหนียวปนทรายแป้งมีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนเทามีจุดประสีแดงและสีเหลืองปนน้ำตาล จะพบจุดประสีเหลืองฟางข้าว ในดินล่างลึกลงไปโดยทั่วไปลึกกว่า  1 เมตร จากผิวดิน หน้าอัดมันและรอยไถลและหน้าดินจะแตกระแหงเมื่อดินแห้งปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด (pH 4.5-5.5) ดินล่างตอนล่าง เป็นดินเลนเหนียวสีเทาเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อย (pH 6.5 )
ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน :  ดินเป็นกรดจัด การระบายน้ำเลวมีน้ำท่วมขังในฤดูฝนลึก 80-200 ซม.
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์: เนื่องจากสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงราบลุ่มเนื้อดินเป็นดินเหนียวการระบายน้ำเลว ในช่วงฤดูฝนจะมีน้ำขังอยู่ที่ผิวดิน ระหว่าง 4-6 เดือน จึงมีศักยภาพเหมาะสมที่จะใช้ทำนาในช่วง ฤดูฝน แต่สามารถปลูกพืชไร่ พืชผัก หรือพืชอื่นที่มีอายุสั้นได้ในช่วงฤดูแล้ง สำหรับในบริเวณพื้นที่ที่มีน้ำชลประทานเข้าถึงหรือแหล่งน้ำธรรมชาติ ถ้าใช้ปลูกไม้ยืนต้น ไม้ผล หรือปลูกพืชไร่และพืชผัก ตลอดทั้งปีจะต้องทำคันดินล้อมรอบพื้นที่เพาะปลูกและยกร่องปลูกเพื่อช่วยการระบายน้ำของดิน 

  1. ชุดดินรังสิต (Rs)

ลักษณะเด่น เป็นดินลึก ดินบนเป็นดินเหนียวสีดำหรือสีเทาเข้ม มีจุดประสี น้ำตาลปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด (pH 4.0-5.0) มักมีรอยแตกระแหงที่ผิวหน้าดินในฤดูแล้งดินบนตอนล่างสีน้ำตาลปนเทา หรือน้ำตาลปนเทาเข้ม มีจุดประสีแดงหรือสีแดงปนเหลือง ที่ระดับความลึกประมาณ 50-100 ซม.พบจุดประสีเหลืองฟางข้าวของสารจาโรไซต์ดินล่างตอนล่างเป็นดินเหนียว พบรอยไถและผิวหน้าอัดมันส่วนที่ระดับลึกกว่า 100-150 ซม. ลงไปมีลักษณะเป็นดินเลนปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมาก (pH <4.0)
ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ดินเป็นกรดจัดมากหรือเป็นดินเปรี้ยวจัดลึกปานกลางในช่วงความลึก 50-100 ซม. จากผิวดิน เกิดการตรึงของธาตุอาหารและมีสารที่เป็นพิษต่อพืชที่ปลูก มีโครงสร้างดินแน่นทึบ ดินแห้งแข็งและแตกระแหง ทำให้ไถพรวนยาก คุณภาพน้ำเป็นกรดจัดมาก ขาดแคลนแหล่งน้ำจืด และน้ำท่วมขังในฤดูฝน ทำความเสียหาย  กับพืชที่ไม่ชอบน้ำ
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ควบคุมน้ำใต้ดินเพื่อป้องการเกิดออกซิเจนของไพไรต์ การยกร่องปลูกพืชเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถป้องกันการเกิดกรดดังกล่าวได้ ถ้าจะใช้ปลูกข้าว ควรใช้ปูนมาร์ลในอัตรา 2 ตันต่อไร่ ควบคู่ไปกับการใช้ปุ๋ย ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส ถ้าค่าปฏิกิริยาดิน วัดได้น้อยกว่า 4.5 และถ้าค่าปฏิกิริยาดินสูงกว่า 4.5 ใช้ปุ๋ยและหินฟอสเฟตก็พอ เลือกพันธุ์พืชที่เหมาะสม

 

ติดตามข่าวสารช่องทางอื่น
Email : Chs_ratchasan@doae.go.th
เว็บไซต์ : https://chachoengsao.doae.go.th/ratchasan/
TIKTOK : https://www.tiktok.com/@kaset_ratchasan_doae
Twitter : https://twitter.com/Officia75282838
IG : https://www.instagram.com/laborerkasettambon/
facebook : https://www.facebook.com/KASETRatchasan

Skip to content